Biometrics Technology |
|
ไบโอเมตริกซ์ คืออะไร? |
|
ไบโอเมตริกซ์ คือ มาตรวัดทางชีวภาพ โดยใช้วิธีการสกัดและแยกแยะเอกลักษณะเฉพาะ ที่มีความแตกต่างและไม่ซ้ำกันอย่างสิ้นเชิงของมนุษย์เป็นดัชนีชี้วัด เพื่อใช้พิสูจน์ทราบ และยืนยันตัวตนของบุคคลผู้เป็นเจ้าของรหัสทางชีวภาพเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เชื่อถือได้ 100% |
|
|
ข้อมูลทางชีวภาพที่นิยมใช้นั้นมีอะไรบ้าง? |
|
ไบโอเมตริกซ์ เทคโนโลยี ถือเป็นวิทยาการทางเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้า และนำมาใช้แก้ปัญหาข้อจำกัดในสารระบบต่าง ๆ
ที่ต้องใช้อ้างอิงต่อความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลได้อย่างแม่นยำ 100% ในหลากหลายรูปแบบและวิธีการซึ่งการเลือกใช้ข้อมูลทางชีวภาพ ที่เป็นที่ยอมรับและเชื่อถืออย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ได้แก่ข้อมูลชีวภาพทางเคมี (Chemistry), ข้อมูลชีวภาพเชิงกายภาพ (Physiological), และข้อมูลชีวภาพเชิงพฤติกรรมของมนุษย์ (Behavioral) : ตัวอย่างก็เช่น การใช้รหัสพันธุกรรม (DNA), ลักษณะม่านตา (Iris Pattern), ลายนิ้วมือ (Fingerprint), รูปหน้า (Facial),
ฝ่ามือ (Palm Geometry), ลักษณะของมือ (Hand Geometry), การลงลายเซ็นต์ (Dynamic Signature), การพิมพ์ (Keystroke Dynamics),
ท่าเดิน (Gait Recognition), เสียงพูด (Voice) เป็นต้น |
|
ทำไมถึงต้องเลือกใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์ ประเภทลายนิ้วมือ? |
|
ความน่าเชื่อถือในแง่ของข้อมูลชีวภาพทางกายภาพที่สะดวกและปลอดภัยนั้น ม่านตาของมนุษย์มีความละเอียดซับซ้อนและแตกต่างกันได้มากอย่างเหลือเชื่อ และสามารถใช้ได้กับทุกคน แต่อาจไม่ค่อยเหมาะสมมากนักในแง่การลงทุน หรือความสะดวกสบายอีกทั้งผู้ใช้อาจจะยังกังวลต่อความเสี่ยงในสภาวะการติดเชื่อทางตาได้ ในขณะที่ลายนิ้วมือมนุษย์นั้นกลับมีความสะดวก ง่ายและรวดเร็วมากว่า และดูจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ข้อเด่นอีกประการก็คือลายนิ้วมือของมนุษย์นั้น จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาหรืออายุขัยของคน ผิดกับการใช้ไบโอเมตริกซ์เชิงกายภาพประเภทอื่นที่อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ในระยะเวลา หรือช่วงสภาวะใดสภาวะหนึ่งของมนุษย์ รวมถึงไบโอเมตริกซ์เชิงพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านั้นก็ด้วยเช่นกัน |
|
เหตุผลใดถึงต้องเลือกระบบการสแกนลายนิ้วมือมาใช้แทนระบบเก่าแบบดั้งเดิม? |
|
ในแง่ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ การใช้ลายนิ้วมือสามารถยุติปัญหาหรือข้อจำกัดต่างๆ ของระบบแบบดั้งเดิมได้ เช่นการใช้บัตรถือ หรือรหัสผ่านที่ไม่สามารถเชื่อถือได้ 100% ว่าผู้ถือบัตรหรือใช้รหัสเหล่านั้น เป็นเจ้าของบัตรที่ได้รับอนุญาตหรือเป็นผู้มีสิทธิที่แท้จริงหรือไม่ และเมื่อเกิดความเสียหายใด ๆ
บุคคลย่อมปฎิเสธความรับผิดชอบนั้นได้ เพราะสื่อสังเคราะห์ภายนอกเหล่านี้ ง่ายต่อการถ่ายโอน ปลอมแปลง ใช้แทน หรือลักลอบใช้ได้นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น
การถูกขโมยบัตรหรือถูกถอดรหัส ATM, การทุจริตเวลาทำงานของพนักงาน, การผ่านเข้า ออกสถานที่สงวน
โดยผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต, การแฮ็คก์เข้าสู่ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีระดับชั้นความลับและความสำคัญสูง เป็นต้น |
|
ในแง่ของความสะดวก ลายนิ้วมือเป็นอวัยวะสำคัญที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด และมีความถนัดที่จะใช้มันในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ เมื่อนำมาใช้แทนสื่อภายนอกอื่นๆ จึงมีความสะดวก ง่ายดายกว่า และมีความพร้อมต่อการใช้งานได้อยู่เสมอ ไม่จำเป็นต้องคอยจดจำรหัสต่าง ๆ หรือต้องพกบัตรติดตัวให้ยุ่งยาก วุ่นวาย และไม่ต้องระมัดระวังต่อการสูญหายแต่อย่างใด |
|
ข้อจำกัด หรืออุปสรรคในการนำระบบดังกล่าวมาอิมพลีเม้นท์ใช้นั้น มีอะไรบ้าง? |
|
ถึงแม้ว่าระบบ Fingerprint Solution เหล่านี้ ดูเหมือนว่าจะเป็นทางออกที่ดี ในการจะนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย
ตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องอาศัยความชัดเจนแน่นอนและแม่นยำเป็นอย่างสูง เพื่อการพิสูจน์ทราบถึงตัวตนของบุคคลได้นั้น แต่อุปสรรคที่เป็นจุดอ่อนที่สำคัญ มักตกอยู่ที่ระบบฮาร์ดแวร์โซลูชั่น ที่ใช้เป็นองค์ประกอบหลักในการอิมพลีเม้นต์ใช้ระบบนั่นเอง ซึ่งพบว่าโครงการที่ล้มเหลวลงส่วนใหญ่นั้น มักเกิดจากการใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือที่มีคุณสมบัติของเครื่อง รวมถึงระบบกลไกระบบ ไม่ได้มาตรฐานอย่างแท้จริง มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่จะยอมรับได้ อีกทั้งผู้ใช้ยังขาดความเข้าใจในการเลือกใช้อุปกรณ์ให้ได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานที่แท้จริง ตั้งแต่การเลือกชนิดของหัวอ่าน หรือประเภทหัวอ่าน
(Fingerprint Sensor), คุณภาพชุดประมวลผล (Fingerprint Module) หรือคุณสมบัติด้านเทคนิค (Specifications) รวมถึงเทคโนโลยีเชิงระบบ
(System Technology) เป็นต้น |
|
ข้อจำกัดด้านตัวบุคคลก็ถือเป็นอีกอุปสรรคหนึ่งเช่นกัน ซึ่งพบว่า ยังมีบุคคลบางกลุ่มที่มีปัญหาเนื่องจาก คุณภาพลายบนนิ้วมือ ไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอในการใช้ระบบดังกล่าวได้ เช่น ลายนิ้วมือตื้นและบางมากเกินไป จนถึงไม่มีลายนิ้วมือ หรือผิวลายนิ้วมือมีลักษณะหลุดลอกอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมักจะใช้ระบบเหล่านี้ไม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพนัก รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ที่ไม่คุ้นเคย จึงอาจเกิดข้อผิดพลาด
ในการวางนิ้วมือได้อย่างถูกต้อง ก็พบว่าเป็นปัญหาได้ด้วยเช่นกัน |
|
หลักการในการอิมพลีเม้นท์ระบบดังกล่าวให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ? |
|
เมื่อเราได้เรียนรู้และเริ่มเข้าใจในหลักการของระบบ Fingerprint Authentication System ที่จะนำมาใช้เป็นโซลูชั่นทางเลือกได้แล้ว สิ่งที่ต้องมองต่อไปอีกว่า แล้วกลยุทธ์อะไรที่จะนำเราไปสู่การอิมพลีเม้นต์ใช้ได้จนสำเร็จอย่างราบรื่น ก็เมื่อเราได้ทราบถึงข้อดีและอุปสรรค ข้อจำกัด รวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ
นั่นแล้ว เราอาจต้องทบทวนและพึงควรระวังใน 3 ประเด็นหลัก ๆ ดังนี้ |
|
1. ความชัดเจนหรือลักษณะความต้องการจะใช้ที่แท้จริง ได้แก่ลักษณะงานที่ต้องการนำไปใช้ เป็นในลักษณะใด เช่น ด้านระบบรักษาความปลอดภัย ในการเข้าถึงสถานที่ (Security Access Control), การนำไปทดแทนระบบการลงเวลาการทำงาน (Time Attendance), หรือการพิสูจน์สิทธิ์ในการเข้าถึงทางซอฟท์แวร์ / การสืบค้นทะเบียนประวัติเชิงฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการยืนยันการทำธุรกรรมด้วยลายนิ้วมือ (Fingerprint on PC Solution) เป็นต้น เพื่อจะได้นำเอาความต้องการใช้เหล่านั้นเป็นโจทย์ในการเลือกเครื่องสแกนลายนิ้วมือ
และซอฟท์แวร์จัดการระบบได้ตรงตามเป้าวัตถุประสงค์ |
|
2. การเลือกคุณสมบัติของเครื่องสแกนลายนิ้วมือที่ดี ให้ตรงกับความต้องการใช้ หรือเหมาะสมกับลักษณะงาน คุณภาพและประสิทธิภาพ รวมถึงความยืดหยุ่นและคุ้มค่า น่าจะเป็นเกณฑ์การพิจารณาในตัวเลือกที่ดี และเหมาะสมมากที่สุด หากแต่การเลือกสินค้าที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการใช้จริง
เป็นเหตุให้เกิดความยุ่งยากและปัญหามากมายภายหลังการใช้งาน สิ่งหนึ่งนั้นที่เป็นตัวบอกถึงความมีมาตรฐานที่ดี ก็คือ แบรนด์สินค้า และความน่าเชื่อถือของ
ผู้ผลิต เพราะนั่นเป็นดัชนีชี้วัดเบื้องต้น ที่ประกันความเสี่ยงด้านคุณภาพสินค้า ที่จะนำมาใช้บนความคาดหวังของผู้ใช้ที่ต้องมั่นใจในระบบได้ |
|
|
การลงทุนที่คุ้มค่านั้นก็ยังต้องไม่มองข้ามด้านคุณสมบัติพิเศษ และประสิทธิภาพของเครื่องสแกนลายนิ้วมือ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจสำคัญที่สุด คือ
เลนส์หัวอ่าน (Lenses sensor) และชุดประมวลผล (Fingerprint Module) ที่ควรจะต้องเลือกใช้เป็น ออฟติคัลชนิด Crystal แท้ ๆ ที่มีความแกร่ง และเสถียรภาพสูงสุด ควบคู่ไปกับชุดประมวลผลภายในที่เชื่อถือได้เท่านั้น อีกทั้งความยืดหยุ่นและความทันสมัยของระบบ หรือเทคโนโลยีที่มากับผลิตภัณฑ์
และซอฟท์แวร์จากผู้ผลิตโดยตรงที่มีศักยภาพสูง รวมไปถึงความสามารถทางด้าน Specifications ที่สอดรับกับประสิทธิภาพ ไม่ว่าด้านความเร็วในการประมวลผล หรือความจุทางด้านการจัดเก็บข้อมูล และความจุลายนิ้วมือในฐานข้อมูลที่มากพอ เป็นต้น |
|
|
3. การลดข้อจำกัดที่เกิดจากตัวบุคคล และพฤติกรรมการใช้ระบบ ให้ต่ำที่สุดและสร้างมาตรการรองรับปัญหาที่อาจจะเกิดข้อจำกัดที่เกิดจากตัวบุคคลที่มีปัญหาไม่มีลายนิ้วมือที่ชัดเจนพอ และพฤติกรรมการใช้ระบบที่ไม่ถูกต้องเนื่องจากยังไม่คุ้นชินกับการใช้ระบบ รวมไปถึงการต่อต้านระบบจากผู้ใช้ ปัญหาเหล่านี้
ผู้บริหารระบบต้องมีความเข้าใจที่ดีเสียก่อน เพื่อสร้างมาตรการรองรับล่วงหน้า ก่อนการใช้ระบบอย่างจริงจังจะช่วยลดปัญหา และย่นเวลาในการอิมพลีเม้นต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ |
|
(ก) กรณีข้อจำกัดที่เกิดจากตัวผู้ใช้คือการที่ไม่มีลายนิ้วมือที่มีคุณภาพดีเพียงพอ : ประเด็นนี้ควรหาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดีพอเนื่องจากประสิทธิภาพในการอ่านและยอมรับลายนิ้วมือจะดีกว่า ช่วยลดข้อจำกัดตรงส่วนนี้ได้ดีพอสมควร และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบการตราจสอบคุณภาพลายนิ้วมือก่อนจัดเก็บ (Fingerprint QC Module) โดยซอฟท์แวร์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการสร้างแม่แบบลายนิ้วมือ
ที่เป็นต้นฉบับ
(Master Templates) ที่ดีเสียก่อน อีกทั้งยังสามารถรู้ได้อย่างชัดเจนตั้งแต่แรกเลยว่า มีผู้ใช้คนใดไม่สามารถใช้ระบบนี้ได้ โดยให้การพิสูจน์ทราบจากระบบเอง และหากเกิดกรณีดังกล่าวขึ้นจริง ก็สามารถระบุเจาะจงไปได้ว่า บุคคลนี้สามารถใช้เพียงรหัสผ่าน หรือบัตรผ่านแทนลายนิ้วมือได้เป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้ได้ใช้ระบบและฐานข้อมูลร่วมกับผู้อื่นได้นั่นเอง |
|
(ข) กรณีที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ ของผู้ใช้ระบบที่ยังไม่คุ้นเคย : ประเด็นนี้มักจะเกิดขึ้นได้ในช่วงแรก ๆ ของการเริ่มอิมพลีเม้นต์ใช้ระบบ
ซึ่งจะพบว่า ผู้ใช้สับสนในวิธีการใช้งานระบบ เช่น ไม่ทราบว่าต้องกดปุ่มใด ๆ ก่อนหรือไม่, การวางนิ้วต้องวางลักษณะใด, ต้องใช้นิ้วใดกันแน่, ต้องวางนิ้วกี่ครั้ง
เป็นต้น การแก้ปัญหาเหล่านี้ ก็เพียงแต่ฝึกอบรม หรือทำความเข้าใจต่อผู้ใช้ระบบ ตามลักษณะเป้าหมาย ที่ต้องการใช้ของผู้ดูแลระบบ ว่าจะให้เป็นไปในลักษณะใด เพื่อผลลัพธ์ที่ได้จะต้องสอดคล้องกับความต้องการในการประมวลผลต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องต่อไป ซึ่งการให้ความรู้ต่อผู้ใช้ระบบนั้น จะช่วยลดความผิดพลาดในการใช้งานระบบ รวมถึงทำให้ผู้ใช้คุ้นชินจนกลายเป็นความสะดวกสบายของผู้ใช้เองได้เช่นกัน |
|
(ค) กรณีผู้ใช้งานบางส่วน พยายามต่อต้านระบบ : กรณีนี้อาจเกิดขึ้นได้ หากผู้ใช้ระบบรู้สึกว่า การนำโซลูชั่นเหล่านี้ไปอิมพลีเม้นต์ใช้ ดูเป็นการจำกัดหรือควบคุมมากจนเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้เห็นว่า ระบบไม่มีความน่าเชื่อถือที่ดีพอ เช่น การอ้างว่าได้ลงเวลาการทำงานแล้ว แต่ระบบไม่ยอมรับ
หรือใช้งานไม่ได้, ยุ่งยากซับซ้อน เป็นต้น |
|
การสร้างความเข้าใจด้านระเบียบวินัยและความรับผิดชอบของพนักงาน ที่เป็นผู้ใช้ระบบ ยังคงเป็นเรื่องที่จำเป็นในเบื้องต้น หลังจากนั้น ควรมีระบบควบคุม และตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ใช้ระบบ ว่าปัญหาเหล่านั้นเป็นข้อเท็จจริงแล้วหรือไม่ ระบบ Fingerprint Authentication System ที่ดีนั้น ควรจะต้องมีระบบการตรวจสอบเหตุการณ์การลงลายนิ้วมือผ่านระบบทุกครั้ง (จัดเก็บรายการทั้งหมด) เพื่อตรวจสอบย้อนหลังได้ หรืออาจจะใช้ร่วมกับระบบอื่น ๆ เช่น
มีการใช้บัตรหรือรหัสควบคู่กับการใช้ลายนิ้วมือ, หรือเลือกระบบที่มี Webcam Camera เพื่อทำการ Capture ใบหน้าของผู้ใช้ทุกครั้งไว้ในระบบ,
หรืออาจใช้ร่วมกับกล้องวงจรปิดที่มีอยู่แล้ว เป็นต้น ก็สามารถยุติปัญหาดังกล่าวนี้ได้ดียิ่งขึ้น |