Biometric Fingerprint for Access Control |
|
พื้นฐานด้านความต้องการ |
|
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศด้านระบบรักษาความปลอดภัยในสถานที่ มาอิมพลีเม้นท์ใช้เพื่อควบคุมการผ่านเข้า - ออกในอาคารหรือสถานที่ส่วนบุคคล โดยอาจใช้เป็นโซลูชั่นสนับสนุน ช่วยเหลือ หรือส่งเสริม การทำงานของเจ้าหน้าที่ จนกระทั่งถึงการใช้ทดแทนกำลังพลด้านการรักษาความปลอดภัย เพื่อตอบสนองประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยอย่างสูงสุด หรือต้องการลดทรัพยากรบุคคลในการทำหน้าที่ดังกล่าวก็เป็นได้ |
|
โซลูชั่นทางออก |
|
การนำระบบ "ไบโอเมตริกซ์เทคโนโลยี" มาใช้น่าจะเป็นโซลูชั่นทางออกนั้นเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เนื่องจากระบบการพิสูจน์บุคคลโดยใช้ข้อมูลทางชีวภาพนั้น จะมีความถูกต้องแม่นยำได้อย่าง 100% อีกทั้งยังจะใช้อ้างเป็นหลักฐานที่สำคัญ ในการยืนยันผลแห่งพฤติกรรมต่างๆ ของบุคคล ที่จะไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้เลย ซึ่งจะต่างจากการใช้สื่อสังเคราะห์ภายนอก เช่น การใช้บัตรหรือรหัสผ่าน นั่นจะไม่สามารถยืนยันได้ว่า ผู้ถือบัตรหรือผู้ใช้รหัสเหล่านั้น เป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาต หรือเป็นผู้มีสิทธิในการใช้ระบบอย่างแท้จริง เหล่านี้ยังไม่นับถึงความยุ่งยากในการพกพาและรักษาหรือการจดจำรหัสผ่านส่วนตัวอยู่เสมอ อีกทั้งเสี่ยงต่อการสูญหาย / หลงลืม หรือถูกปลอมแปลง ใช้แทน หรือลักลอบใช้โดยผู้อื่น เพื่อใช้เป็นช่องทางผ่านเข้าสู่ระบบที่ถูกป้องกันไว้อย่างหละหลวม |
|
ทางเลือกที่เหมาะสม |
|
ลายนิ้วมือ (Fingerprint) คือ รหัสทางธรรมชาติของมนุษยชาติ ที่จะไม่เปลี่ยนแปลงหรือซ้ำซ้อนกันได้เลย ความลับนี้ได้ถูกเปิดเผยและนำประโยชน์จากมันมาใช้ระบุเอกลักษณ์บุคคลได้อย่างแม่นยำที่สุด หรืออาจสรุปได้ว่า ลายนิ้วมือมนุษย์สามารถใช้ยืนยันตัวบุคคลได้อย่าง 100% นั่นเอง โชคดีว่าเราทุกคนมีความถนัด และสะดวกใช้นิ้วมือกับฮาร์ดแวร์โซลูชั่นเหล่านี้มากกว่าไบโอเมตริกซ์ประเภทอื่น เช่น ม่านตา (Iris Pattern), รูปหน้า* (Facial), ลักษณะมือ* (Hand Geometry) เป็นต้น ซึ่งอาจไม่ค่อยสะดวกและถือเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างสูง |
|
ประสิทธิภาพจากระบบที่มีความน่าเชื่อถือ |
|
เมื่อทางออกของปัญหาในการเลือกระบบการพิสูจน์ตัวตนที่แท้จริงของผู้ใช้ ในระบบการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ยุติลงได้ด้วย ไบโอเมตริกซ์ โซลูชั่น ซึ่งก็น่าจะถือเป็นความสำเร็จเบื้องต้นในการเลือกใช้โซลูชั่นที่เหมาะสม ระบบการควบคุมองค์รวมทั้งระบบ และการบริหารจัดการในระดับซิสเต็มส์และซอฟท์แวร์นั้น เพื่อจะใช้เป็นเงื่อนไขในการควบคุม ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ยังคงเป็นเรื่องจำเป็นเช่นกัน |
|
การจำกัดขอบเขตในการเข้าถึงพื้นที่บริเวณต่าง ๆ (Zoning) หรือการกำหนดเงื่อนไขการเข้าถึงแบบเป็นเวลา (Time Zone) รวมถึงการควบคุมทิศทางแบบไม่ย้อนกลับ (Anti-Pass Back) ความสามารถขั้นสูงของระบบเหล่านี้ จะสร้างความกระชับ รัดกุม ในแง่ของการควบคุมพื้นที่ความปลอดภัยในระดับซับซ้อนได้ตามต้องการนั้น จะยิ่งทำให้ระบบมีความน่าเชื่อถือสูงอีกด้วย
|
|
การบันทึกและจัดเก็บข้อมูลเชิงเหตุการณ์ในลักษณะฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือการเฝ้าระวังผ่านหน้าจอภาพ (Real time Monitoring) จะทราบได้ทันทีถึงทุกพฤติกรรมการเข้าถึงสถานที่ใดๆ ของบุคคลในอาคารที่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดเหล่านี้ ได้ โดยจะทราบได้ทันทีว่า ใคร? เข้า ออกที่ไหน? เมื่อไหร่? ไปทางไหน? มีสิทธิเข้าถึงได้บริเวณใด? พยายามฝ่าฝื่นสิทธิการเข้าถึงหรือไม่? พฤติกรรมการปิด เปิดประตูเป็นอย่างไร? เป็นต้น เพื่อใช้ในการป้องกัน การควบคุม การติดตามและยังใช้ยืนยันพฤติกรรมของบุคคลเหล่านั้นอย่างปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ |
|
การนำข้อมูลที่ระบบบันทึกไว้ทั้งหมด เพื่อนำมาวิเคราะห์ ตรวจสอบหรือติดตามบุคคล รวมถึงการใช้ปรับแผนด้านการรักษาความปลอดภัยให้มีศักยภาพสูงขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบทำงานได้อย่างรัดกุมและเชื่อถือได้มากที่สุด ลดข้อบกพร่องของเจ้าหน้าที่ รวมถึงต้นทุนทางด้านเวลา โอกาส ทรัพยากรบุคคล และความเสี่ยงต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นหากไม่มีระบบป้องกันที่มีประสิทธิภาพเช่นนี้ |
|
การลงทุนด้านความปลอดภัยที่คุ้มค่ากว่า |
|
การเลือกอิมพลีเม้นต์ระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงอาคารหรือสถานที่ส่วนบุคคลด้วยการใช้ลายนิ้วมือในการผ่านเข้า - ออก (Fingerprint Access Control System) ควรจะต้องให้ความสำคัญกับฮาร์ดแวร์โซลูชั่นที่เชื่อถือได้เท่านั้น อีกทั้งยังต้องให้ความใส่ใจกับศักยภาพเชิงระบบและเทคโนโลยี รวมไปถึงประสิทธิภาพในระดับซอฟท์แวร์จัดการอีกด้วย เนื่องจากปัจจัยร่วมทั้งหมดเหล่านี้ คือผลรวมแห่งความสำเร็จในเชิงเป้าหมาย (วัตถุประสงค์) และความคุ้มค่าในการลงทุนนั่นเอง |